เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 6. สัมปยุตตวาร
1. กุสลติกะ 6. สัมปยุตตวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[392] สภาวธรรมที่เป็นกุศลสัมปยุตกับสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 สัมปยุตกับขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ 1
สัมปยุตกับขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 สัมปยุตกับขันธ์ 2 เกิดขึ้น (1)
[393] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลสัมปยุตกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 สัมปยุตกับขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ 1 สัมปยุต
กับขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 สัมปยุตกับขันธ์ 2 เกิดขึ้น (1)
[394] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตสัมปยุตกับสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิด
ขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 สัมปยุตกับขันธ์ 1 ที่เป็นอัพยากตวิบาก
และที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ 1 สัมปยุตกับขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2
สัมปยุตกับขันธ์ 2 เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 3 สัมปยุตกับขันธ์ 1 ที่เป็น
อัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ 1 สัมปยุตกับขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 สัมปยุตกับ
ขันธ์ 2 เกิดขึ้น (ย่อ) (1)

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[395] เหตุปัจจัย มี 3 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 3 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 3 วาระ
สมนันตรปัจจัย มี 3 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 3 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :253 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 6. สัมปยุตตวาร

นิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ
อาเสวนปัจจัย มี 3 วาระ
กัมมปัจจัย มี 3 วาระ
วิปากปัจจัย มี 1 วาระ
อาหารปัจจัย มี 3 วาระ
อินทรียปัจจัย มี 3 วาระ
ฌานปัจจัย มี 3 วาระ
มัคคปัจจัย มี 3 วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ
อัตถิปัจจัย มี 3 วาระ
นัตถิปัจจัย มี 3 วาระ
วิคตปัจจัย มี 3 วาระ
อวิคตปัจจัย มี 3 วาระ

อนุโลม จบ

2. ปัจจยปัจจนียะ 1. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[396] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลสัมปยุตกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น
เพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
สัมปยุตกับขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น
[397] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตสัมปยุตกับสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 สัมปยุตกับขันธ์ 1 ที่เป็นอเหตุกะ ซึ่ง
เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ 1 สัมปยุตกับขันธ์ 3
เกิดขึ้น ขันธ์ 2 สัมปยุตกับขันธ์ 2 เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ
ขันธ์ 3 สัมปยุตกับขันธ์ 1 ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ 1 สัมปยุตกับ
ขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 สัมปยุตกับขันธ์ 2 เกิดขึ้น (ย่อ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :254 }